Thursday, June 13, 2013

การเดินสายแบบริง

ระบบแลน
แลนมาจากคำว่า LAN(Local Area Network) คำแปลเป็นตามไทยตามศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า "ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่" แต่บางครั้งก็มีผู้ใช้คำว่า "ระบบเครือข่ายท้องถิ่น" ความหมายก็คือระบบที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วยความเร็วสูง ระบบแลนถือว่าเป็นระบบเครือข่ายพื้นฐานสำหรับการใช้งานโปรโตคอลต่างๆ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรโตคอล TCP/IP ด้วย 
เนื่องจากระบบแลนเป็นระบบที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยการใช้สายสัญญาณหรือที่เราเรียกว่าสายแลนต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นการแบ่งประเภทของแลนเราจะแบ่งตามวิธีการเชื่อมต่อหรือวิธีการเดินสายสัญญาณนั้นเอง
วิธีการเดินสายแลน
เมื่อจะส่งข้อมูลถึงกันก็ต้องต่อสายเข้าหากัน วิธีการต่อสายเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ในระบบแลนนั้นเราจะเรียกว่า "การเดินสายแลน" โดยที่นิยมกันจะแบ่งเป็น 3 วิธีครับคือ
·     เดินสายแบบบัส
·     เดินสายแบบริง
·     เดินสายแบบสตาร์
 การเดินสายแลนทั้ง 3 วิธี จะใช้อุปกรณ์และวิธีการต่างกัน และมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ปัจจุบันเราจะพบการเชื่อมต่อแบบสตาร์ มากที่สุดเพราะ สามารถตรวจสอบหาข้อผิดพลาดได้ง่าย ระบบตัวอย่างของเราก็ใช้วิธีการเดินสายแบบสตาร์เหมือนกัน แต่วิธีการเดินสายแบบอื่นก็น่าสนใจเช่นกัน เรามาลองทำความเข้าใจถึงวิธีเดินสายในแต่ละแบบกันครับ เริ่มกันที่การเดินสายแบบบัสก่อน
การเดินสายแบบบัส 
วิธีการเดินสายแบบบัสนี้ เหมือนกับการวางถนนหลักแล้วมีซอยแยกเข้าบ้าน ดังรูปที่ 3 โดยจะวางสายแลนเดินเป็นแกนกลางที่เรียกว่าบัสหรือแบ็กโบนเป็นถนนหลัก แล้วตามจุดต่างๆ ระหว่างกลางของแบ็คโบนจะมีสายเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนกับซอยแยกเข้าหาเครื่อง ที่ปลายสายทั้งสองข้างจะมีเทอร์มิเนเตอร์ต่ออยู่
รูปที่ 3 การเดินสายแบบบัส
 สายแลนที่ใช้ในการเดินสายแบบบัสจะมีอยู่สองชนิดคือ 
·     ชนิดบาง(thin cable) มีความยาวได้สูงสุด 200 เมตร
·     ชนิดหนา(thick cable) เดินได้ความยาวสูงสุด 500 เมตร
สายชนิดบางมักจะใช้เดินภายในอาคาร ส่วนสายชนิดหนาจะใช้เดินระหว่างอาคารหรือเชื่อมระหว่างชั้นต่างๆ ข้อดีของการเดินสายแบบบัสนี้คือ ติดตั้งง่าย อุปกรณ์ราคาถูก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์รวมสัญญาณ(HUB) สามารถเดินสายได้ระยะทางไกล และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ(repeater) เพื่อเพิ่มระยะทางในการเดินสายได้
แต่มีข้อเสียคือถ้าเกิดข้อผิดพลาดในสายสัญญาณ หรือเกิดการขาดที่จุดหนึ่งจุดใดบนบัส จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถให้งานได้ และการตรวจสอบหาจุดเสียทำได้ยาก ภายหลังจึงไม่นิยมการเดินสายแบบบัสนัก
การเดินสายแบบริง
รูปที่ 4 การเดินสายแบบริง
การเดินสายแบบริง(ring) หรือแบบวงแหวนนี้จะเดินสายเป็นวง จากเครื่องแรกไปยังเครื่องสุดท้ายและวนกลับมายังเครื่องแรกอีกครั้ง ดังรูปที่ 4เทคนิค การเดินสายแบบนี้มีในระบบเครือข่ายมานานแล้วแต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากจุดหนึ่งจุดใดในวงขาดจะทำให้เครื่องอื่นไม่สามารถส่งข้อมูลได้และ อุปกรณ์มีราคาค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามการเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงวิธี หนึ่ง
การเดินสายแบบสตาร์
ระบบแลนที่เชื่อมต่อในลักษณะสตาร์นั้นสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป คือระบบที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีสายแลนเชื่อมไปที่ฮับเป็นตัวกลางและถ้าเดินสายตรงออกจากฮับไปยังเครื่องที่ตำแหน่งต่างๆ จะมีลักษณะคล้ายดาว จึงเรียกว่าการเชื่อมต่อแบบสตาร์ ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 รูปการเชื่อมต่อแบบสตาร์
ด้วยการเดินสายสัญญาณแยกแต่ละเครื่องไปยังฮับ ดังนั้นถ้าสายสัญญาณเส้นหนึ่งเส้นใดขาด ก็จะมีผลต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่ต่ออยู่เพียงเครื่องเดียว เครื่องอื่นสามารถยังสามารถใช้งานได้ปรกติ ทำให้การบำรุงรักษาง่าย และปัจจุบันการเชื่อมต่อในลักษณะนี้สามารถทำความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 10 เมกกะบิตต่อวินาที ไปจนถึง 1 กิกะบิตต่อวินาที ในขณะที่ราคาอุปกรณ์ถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูง
การเชื่อมต่อแบบสตา ร์นี้ เราสามารถวางตำแหน่งของเครื่องและเดินสายอย่างไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องวางให้ เรียงตามลำดับอย่างการเดินสายแบบบัสหรือแบบริง สายแลนแต่ละเส้นเรายาวเท่าไรก็ได้และไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน โดยสายแลนแต่ละเส้นมีความยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร(ตามคุณสมบัติ) แต่ในการใช้งานจริงมักจะใช้ความยาวไม่เกิน 85 เมตร และมักจะเดินโดยคำนึงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสวยงายด้วย ตัวอย่างการเชื่อมต่อวงแลนในที่ทำงานจะมีลักษณะดังรูปที่ 6 ซึ่งเรามักจะวางฮับไว้ที่มุมห้องแล้วเดินสายแลนลอดใต้พื้นยก หรือใต้หลังคาเพื่อความเรียบร้อยและสวยงาม
รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างการเชื่อมโยงระบบแลนแบบสตาร์
รายละเอียดการเดินสายของระบบตัวอย่าง
เมื่อเดินสายสัญญาณเชื่อมโยงเครื่องแต่ละเครื่องแล้ว ให้เราวาดแผนผังของระบบเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการดูแลระบบต่อไป โดยจะนิยมเขียนแผนผังในลักษณะบัสโดยไม่เขียนรูปฮับ ซึ่งดูง่ายกว่า ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 การเขียนแผนผังเครือข่ายในลักษณะบัส
การเขียนแผนผังใน ลักษณะบัสนี้จะเขียนเส้นตรงแทนระบบเครือข่ายและมีเส้นย่อยลากจากเส้นหลักไป ยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่เขียนรูปฮับ ระบบเครือข่ายรุ่นก่อนๆ การเขียนแผนผังเครือข่ายลักษณะนี้จะหมายการเชื่อมต่อในลักษณะบัสจริงๆ แต่ในปัจจุบันจะมักหมายถึงการเชื่อมต่อแบบสตาร์โดยที่มีฮับเป็นศูนย์กลางใน การเชื่อมต่อ
 

0 comments:

Post a Comment